เหรียญคริปโตแบบนี้ Scam แน่นอน ใครเจอรีบหนีไป!!!

เหรียญคริปโตแบบนี้ Scam แน่นอน ใครเจอรีบหนีไป!!! WikiBit 2021-12-16 16:49

วันนี้เราจะพูดถึง Scam Coin หรือสกุลเงินดิจิทัลปลอมที่สร้างขึ้นเพื่อตั้งใจมาโกงหรือ rug pull และนี่คือคุณสมบัติของเหรียญ Scam ที่ถ้าเจอเมื่อไหร่ หนีไป!

  วันนี้เราจะพูดถึง Scam Coin หรือสกุลเงินดิจิทัลปลอมที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สร้างเหรียญในขณะที่ขโมยเงินจากผู้ที่สนับสนุนและลงทุนในเหรียญ และนี่คือคุณสมบัติของเหรียญ Scam ที่ถ้าเจอเมื่อไหร่ หนีไป!

   1. เหรียญที่ซื้อมา แล้วขายไม่ได้

  กลโกงคริปโตยอดนิยมเลยคือการทำ Rug Pull คือการปั่น ๆ ให้ราคาสูง สุดท้ายเทขายเป็นจำนวนมากโดยผู้สร้าง ซึ่งจะทำให้ Decentralized Exchanges ว่างเปล่า

  มิจฉาชีพจะใช้ประโยชน์จาก Approve Function ของโทเคน ERC-20 บนเครือข่ายของ Ethereum ซึ่งฟังก์ชันนี้จะจัดการผู้ใช้งานให้ไม่สามารถใช้โทเคนที่ซื้อมาได้ นักพัฒนาก็อาจจะแก้ไขฟังก์ชันนี้ให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อโทเคนได้เท่านั้น ขายไม่ได้ โดนทิ้งกลางทาง ครอบครองเหรียญที่ไม่มีมูลค่า ขายออกไม่ได้ เหลือไว้แต่ความเจ็บใจ

  ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่เคยเจอเหตุการณ์ Rug Pull ใหญ่ ๆ เลยก็คือเหรียญ Squid Game ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นมาแตะระดับที่สูงที่สุดในไม่กี่วันที่ 2,861 ดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงมาเหลือศูนย์ดอลลาร์ และเจ้าของโปรเจกต์ก็ได้ทำการปิดโครงการนี้อย่างเป็นทางการ ปิดเว็บไซด์ ส่วนทางผู้ซื้อเหรียญก็ขายเหรียญบนแพลตฟอร์มไม่ได้ โดนแกงทั้งโลก

   2. เว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ Whitepaper คลุมเครือ

  ในโลกคริปโต เรามีวิธีระดมทุนที่อาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วยแทนที่ผู้ลงทุนจะจ่ายเงินเพื่อแลกกับหุ้น พวกเขาจะได้รับเหรียญดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้เป็นสิ่งตอบแทน ที่เรียกว่า ICO หรือ Initial Coin Offering โดยบริษัทจะนำเสนอสิทธิประโยชน์และแผนธุรกิจในเอกสารที่เรียกว่า White Paper

  ที่เราต้องระวังเลย คือ Fake ICO ซึ่งมักจะมาในรูปแบบของการหลอกให้ลงทุนและหนีหายไป ให้นักลงทุนมาร่วมระดมทุนไม่ได้มีเป้าหมายอะไรจริง ๆ เหรียญประเภทที่ให้ระดมทุนก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ซึ่งวิธีจับสัญญาณว่า ICO อาจเป็นการหลอกลวง คือ เว็บไซต์ หรือ Whitepaper จะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร ตามกฎหมายที่ถูกต้องเอกสารมักจะอธิบายว่าทำไมผู้คนจึงควรลงทุนในโครงการและมูลค่าที่เป็นไปได้ของโครงการคือเท่าไร นักลงทุนจำเป็นต้องทำการดูข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ระดมทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการหลอกลวง

  Whitepaper ที่ดีควรมีชื่อผู้พัฒนาหรือสมาชิกในทีม มีแผนงานที่ชัดเจน และมีเป้าหมายการระดมทุน หาก ICO เปิดตัวโดยไม่มีเป้าหมายเงินทุนที่เฉพาะเจาะจง อาจเป็นสัญญาณว่าเป้าหมายของ ICO นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและอาจใช้เพื่อหลอกลวงนักลงทุนเท่านั้น

   3. ไม่ได้ขายบนแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ

  อีกวิธีหนึ่งที่นักต้มตุ๋นหลอกลวงนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัล คือการใช้แอปปลอมที่มีให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play และ App Store แล้วให้ไปซื้อเหรียญชื่อแปลก ๆ ที่คุณแทบไม่เคยรู้จัก อ่านดูคงคิดว่าใครจะไปเชื่อแล้วซื้อเหรียญเหล่านั้น แต่รู้มั้ยว่ามีรายงานว่า มีผู้คนหลายพันคนดาวน์โหลดแอปสกุลเงินดิจิทัลปลอมแล้ว

   4. คะแนนบน WikiBit ต่ำมาก

  WikiBit คือแอปให้บริการตรวจสอบเหรียญคริปโต แอปของเรามีข้อมูลทุกอย่างที่คุณควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงสถิติ Whitepaper เว็บไซต์ของเหรียญ หรือแม้กระทั่งเช็คได้ว่าเหรียญนั้น ๆ มีขายบนแพลตฟอร์มไหนบ้าง ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกคำนวณผ่านระบบ AI ออกมาเป็นคะแนนความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีคะแนนต่ำว่า 3/10 อันนั้นก็เข้าข่ายเป็นเหรียญที่ไม่น่าไว้ใจแล้ว! ใครอยากเช็คข้อมูลเหรียญก็แค่กดค้นหาชื่อ แล้วข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะขึ้นมาแบบจัดเต็ม ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี! #WikiBit

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ

  • แปลงโทเค็น
  • การแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
  • การคำนวณอัตราแลกเปลียน
/
ชิ้น
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้
จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

0.00